วิธีช่วยหายใจเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยชีวิตของสุนัข เมื่อพวกเค้าหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นได้ การที่สุนัขหายใจลำบาก ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาแค่เพียงระบบหายใจเพียงส่วนเดียว แต่สามารถก่อให้เกิดปัญหาในระบบอื่นๆ ตามมาได้ด้วย ดังนั้น การที่สุนัขหายใจได้ลำบาก จำเป็นจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการใช้วิธีกู้ชีพ (CPR) อาจจำเป็นในกรณีที่หัวใจหยุดทำงานด้วย
สิ่งที่ควรสังเกต
การหายใจแผ่วเบา การหายใจไม่สม่ำเสมอ และการหายใจหอบอาจเป็นสัญญาณว่ามีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้พวกเค้าเกิดอาการช็อกได้ถ้าปล่อยไว้ สัญญาณอื่นๆที่บ่งบอกว่าสุนัขมีภาวะหายใจลำบากคือ การออกกำลังกายได้น้อยลงกว่าปกติหรือเหนื่อยง่าย ซึม การยืนในลักษณะที่ข้อศอกกางออก
สาเหตุเบื้องต้น
ภาวะช็อก การติดเชื้อแบคทีเรียในปอด ลมแดด ท้องอืด โรคพยาธิหนอนหัวใจ การทำงานผิดปกติของปอด สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้สุนัขมีภาวะหายใจลำบากได้ ลักษณะคล้ายว่ามีสิ่งอุดตันอยู่ในทางเดินหายใจ
การดูแลเบื้องต้น
มี 2 วิธีที่ใช้ในการช่วยหายใจ ได้แก่ การกด และการเป่าแบบปากถึงจมูก
วิธีการช่วยหายใจแบบกด
เทคนิคการช่วยหายใจวิธีนี้ คือการใช้แรงกดที่ผนังช่องอก เพื่อให้มีอากาศไหลออก และความยืดหยุ่นของผนังช่องอก จะเป็นตัวดึงอากาศให้ไหลเข้ามาเอง
- ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจรของสุนัข
- วางสุนัขในท่านอนตะแคง เอาด้านขวาลงกับพื้น
- ดึงลิ้นออกมา และทำให้ทางเดินหายใจโล่ง จำเป็นต้องตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันบริเวณปาก หรือช่องอก
- วางมือบนอก และกดลง ซึ่งในขั้นตอนนี้ คุณควรจะได้ยินเสียงอากาศที่ไหลออก
- หยุดกด และฟังเสียงหายใจที่อากาศไหลเข้า
- ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนสุนัขสามารถหายใจได้เอง
วิธีการช่วยหายใจแบบเป่าจากปากถึงจมูก
มักใช้เทคนิคนี้เมื่อวิธีการแบบกดไม่ได้ผล การช่วยหายใจสำหรับสุนัข หรือสุนัขที่มีน้ำหนักไม่เกิน 14 กิโลกรัม
- วางสุนัขในท่านอนตะแคงขวา
- ดึงลิ้นออกมาให้ลิ้นอยู่หลังฟันเขี้ยว เพื่อที่เวลาปิดปากสุนัขจะได้ไม่งับถูกลิ้นตัวเอง
- ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งอุดตันทางเดินหายใจ
- ให้ปากของเราชิดกับจมูกของสุนัข และเป่าลมเบาๆ ให้เข้ารูจมูกจนช่องอกขยาย
- ถอยปากออกเพื่อให้ช่องอกแฟบลง
- ถ้ากรณีที่ช่องอกไม่ขยายให้เป่าลมให้แรงขึ้น และปิดปากของสุนัขให้สนิท
- ทำซ้ำข้อที่ 4-5 ทุกๆ 5-10 วินาที จนกว่าสุนัขจะหายใจได้เอง และตรวจสอบชีพจรทุกๆ หนึ่งนาที
- ถ้าหัวใจหยุดเต้นร่วมด้วย ควรใช้วิธีกู้ชีพร่วมกับการเป่าปากไปด้วย
- รีบแจ้งให้สัตวแพทย์มาช่วยเหลือ
การช่วยหายใจสำหรับสุนัข หรือสุนัขที่มีน้ำหนักมากกว่า 14 กิโลกรัม ให้ทำตามวิธีข้างต้นได้ แต่ควรจะต้องปิดปากสุนัขให้สนิท และทำซ้ำทุก 3 วินาที
การป้องกัน
ควรให้สุนัขออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นตรวจสอบภาวการณ์หายใจของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งระมัดระวังไม่ให้สุนัขกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพื่อลดปัญหาการอุดตัน
ที่มา: petmd.com